วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ดอกพุดซ้อน


ดอกพุดซ้อน

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Gardenia angusta (L.) Merr.
ชื่อวงศ์:  Rubiaceae
ชื่อสามัญ:  Cape jasmine, Gardenia jasmine
ชื่อพื้นเมือง:  พุดจีน พุดใหญ่ อินถะหวา เค็ดถวา แคถวา ซัวอึ้งกี่ จุยเจียฮวย
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  พุดซ้อนเป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1-2เมตร แตกกิ่งแขนงมาก ลำต้นเรียวเป็นรูปกรวย ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มกลม  ค่อนข้างหนาทึบ เปลือกสีน้ำตาลดำ
    ใบ  ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปหอก ปลายใบและโคนใบแหลม ใบมีสีเขียวมน
    ดอก  เป็นดอกเดี่ยวสีขาวออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยงหนาเป็นสัน มีทั้งชนิดดอกลา คือกลีบดอกชั้นเดียว และชนิดดอกซ้อน มีกลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกัน เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-8 ซม.
    ฝัก/ผล  มีทั้งผลสั้นและยาว  รูปไข่ถึงรูปแกมรูปขอบขนาน เมื่อแก่สีเหลือง ส้ม เมล็ดจำนวนมาก ผลแก่จัดจะแตกเป็น 2 ซีก
    เมล็ด  จำนวนเมล็ดประมาณ 3-6 เมล็ด
ฤดูกาลออกดอก:  ออกดอกตลอดปี
การปลูก:  ปลูกเป็นต้นเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มเพื่อบังสายตา
การดูแลรักษา:  เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการแสงแดดจัด ชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก กลิ่นหอมแรง
การใช้ประโยชน์:
    -    นิยมนำไปร้อยพวงมาลัยบูชาพระ
    -     เมล็ดสีเหลืองทอง ใช้แต่งสีอาหารและทำสีย้อม 
    -    ส่วนดอกใช้สกัดน้ำมันหอมระเหย ใช้ทำน้ำหอมและแต่งกลิ่นเครื่องสำอาง
    -    สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:  ประเทศไทย จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น
แหล่งที่พบ:  มีอยู่มากทางภาคเหนือ
สรรพคุณทางยา:
    -    ใบ ตำพอกแก้ปวดศีรษะ  แก้เคล็ดขัดยอก
    -     ดอก คั้นน้ำทาแก้โรคผิวหนัง
    -    ราก  แก้ไข้ 
    -    เปลือกต้น  แก้บิด

แหล่งที่มา:http://www.nanagarden.com/ลักษณะพฤกษศาสตร์ของพุดซ้อน-10193-13.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น