วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ต้นหางนกยูง



ต้นหางนกยูง


ต้นหางนกยูงฤดูร้อนหางนกยูง หรือที่เรียกว่านกยูง, นกยูงฝรั่ง, ชมพอหลวง, ส้มพอหลวง หงอนยูง ,อินทรี และยูงทอง  พันธุ์ไม้จากทวีปแอฟริกาอยู่ในวงศ์พืชตระกูลถั่ว เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ผลัดใบในหน้าแล้งทรงพุ่มต้นแผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ดอกเป็นช่อออกที่ปลายกิ่งมีกลีบห้ากลีบ สีแดงจัดจนถึงสีส้ม ฝักเป็นลักษณะฝักถั่วแบนยาว เมื่อแก่จะเป็นฝักแห้งแข็งสีดำ
ประวัติ
หางนกยูงมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Delonix regia(Bojer) Raf. อยู่ ในวงศ์ Caesalpinioideae เช่นเดียวกับ นนทรี ต้นขี้เหล็ก ประดู่แดง ชงโค คูน กาหลงกัลปพฤกษ์ และจามจุรี เป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดเดิมอยู่บนเกาะมาดากัสการ์ ทวีปแอฟริกา ค้นพบครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2367 โดยนักพฤกษศาสตร์ ชาวออสเตรเลีย ในประเทศไทยมีผู้นำเข้ามาปลูกเพื่อความสวยงามโดยปัจจุบันมีต้นหางนกยูงสองชนิดคือหางนกยูงฝรั่ง และหางนกยูงไทยที่มีเป็นไม้พุ่มและดอกสีสดใสหลากสี

ลักษณะทางพฤษศาสตร์
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางต้นโตเต็มที่สูงราว 12- 18 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างทรงกลมคล้ายร่ม แผ่กิ่งก้านออกคล้ายจามจุรี แต่มีขนาดเล็กกว่า ลำต้นเกลี้ยง เปลือกสีน้ำตาลอ่อนอมขาวถึงสีน้ำตาลเข้ม
โคนต้นเป็นพูพอน มักมีรากโผล่พ้นดินออกโดยรอบเมื่อโตเต็มที่ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นเรียงเวียนสลับและมีใบย่อยเรียงตรงข้ามกันขนาดใบย่อยใกล้เคียงกับใบย่อยของมะขาม แผ่นใบรูปขอบขนาน ปลายกลมโคนเบี้ยว
ผิวใบเกลี้ยง เป็นพืชผลัดใบ ในประเทศไทยมักผลัดใบในฤดูร้อนช่วงเดือนมีนาคม ถึงมิถุนายน ออกดอกดกและทิ้งใบทั้งต้นเหลือแต่ดอกบานสะพรั่งดูงดงามเป็นพิเศษ ช่อดอกออกตามปลายกิ่งและตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง ประกอบด้วยกลีบดอก 5 กลีบและเกสรตัวผู้ยาวงอนออกมาเหนือกลีบดอก กลีบดอกหางนกยูงความจริงประกอบด้วยสี 2สี คือสีแดงและ สีเหลือง แต่ส่วนใหญ่จะมี 2 สีนี้อยู่ด้วยกันจึงเห็นเป็นสีแสด ดอกใดที่สีเหลืองมากกว่าก็เป็นสีแสดออกเหลืองดอกใดสีแดงมากกว่าก็เป็นสีแสดออกแดง แต่ก็มีหางนกยูงบางต้นออกดอกสีแดงแท้ๆและบางต้นออกดอกสีเหลืองบริสุทธิ์ซึ่งหาได้ยาก โดยทั่วไปจึงพบแต่หางนกยูงฝรั่งสีแสดทั้งนี้ผลของหางนกยูงฝรั่งเป็นฝักแบนโค้งรูปดาบ และเมล็ดเรียงตามขวาง
สรรพคุณทางยา
รากนำมาต้มหรือทอดรับประทานกับอาหาร เป็นยาขับโลหิตในสตรีแก้อาการบวมต่างๆ ลำต้นนำมาฝนทาแก้พิษ ถอนพิษสัตว์ต่อยกัดได้เมล็ดอ่อนของหางนกยูงฝรั่งนำมากินสดๆได้ สำหรับเมล็ดแก่ต้องนำมาทำให้สุกเสียก่อนจึงจะใช้กินได้เพราะมีสารประกอบบางชนิดที่เป็นพิษ แต่จะถูกทำลายด้วยความร้อน
ชื่อวงศ์: LEGUMINOSAE/ CASALPI-NIACEAE
ชื่อสามัญ: Barbados Pride, peacock Flower
ชื่อท้องถิ่น: ส้มพอ พญาไม้ผุ
ลักษณะวิสัย: ไม้พุ่ม
ลักษณะ: การเพาะเมล็ด เป็นพรรณไม้พุ่มที่มีลำต้นขนาดเล็ก และแตกกิ่งก้านสาขามาก  เรือนยอดจะโปร่งกิ่งก้านสาขาที่ยังอ่อนอยู่เป็นสีเขียว ส่วนกิ่งที่แก่หรือเปลือกของต้นจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม  ลำต้นสูงประมาณ 3-4เมตร เป็นไม้ใบรวมออกใบเป็นแผงซึ่งแผงๆหนึ่งมีใบย่อยอยู่หลายคู่ แต่ละคู่จะตรงข้ามกัน  และใบย่อยตรงส่วนปลายจะไม่มีคู่ ลักษณะใบย่อยจะกลมมน  ปลายใบมนแต่โคนใบแหลมออกเรียงกันเป็นคู่ๆ ตามก้านใบ ก้านใบก้านหนึ่งจะมีใบย่อยอยู่ราวๆ 8-12 คู่  ขนาดของใบย่อยกว้างประมาณ 0.5 นิ้ว ยาว 1 นิ้ว มีสีเขียว  ออกดอกเป็นช่ออยู่ตามปลายกิ่ง หรือส่วนยออดของต้น  ช่อดอกจะยาวเกือบ 1 ฟุตได้  ดอกของหางนกยูงมีอยู่หลายสีเช่น  แดง เหลือง ชมพู  ส้ม  มีอยู่5กลีบ ดอกบานเต็มที่ราวๆ 1-1.5  นิ้ว ขอบของกลีบจะยับย่นเป็นเส้นลอนสีเหลือง   เกสรอยู่กลางดอกเป็นเส้นงอนยาวโผล่พ้นเหนือดอกออกมา   ลักษณะของผลเป็นฝักแบน  และมีเมล็ดอยู่ภายในมาก  เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัด ปลูกง่ายและขึ้นง่าย  ปลูกได้ในดิน ทุกชนิดและยังทนทานอีกด้วย  ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง


ประโยชน์: ราก ของต้นดอกสีแดงปรุงเป็นยา รับประทานขับประจำเดือน
การขยายพันธ์: การเพาะเมล็ด

แหล่งที่มา:http://thiwarad.wordpress.com/about/ประวัติหางนกยูง/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น