วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ต้นโป๊ยเซียน


ต้นโป๊ยเซียน



ชื่อวิทยาศาสตร์:  Euphorbia millii Desmoul.
ชื่อวงศ์:  EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ:  Crow of Thorns
ชื่อพื้นเมือง:  ระวิงระไว พระเจ้ารอบโลก ว่านเข็มพญาอินทร์ (เชียงใหม่) ไม้รับแขก (ภาคกลาง) ว่านมุงเมือง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  มีลักษณะเป็นไม้อวบน้ำมีหนามแหลมรอบลำต้น อาจมีรูปร่างกลมหรือเหลี่ยมบิดเป็นเกลียวแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ เมื่อโป๊ยเซียนมีอายุมากขึ้นเนี้อไม้จะแข็งแต่ไม่มีแก่นเหมือนไม้ยืนต้นทั่วไป สีของลำต้นมีสีเทาอมน้ำตาลถึงเทาอมดำ
    หนาม  เกิดรอบลำต้น มีลักษณะฐานใหญ่ปลายเรียวแหลม อาจงอขึ้นหรือชี้ลงไม่แน่นอน การแตกของหนามอาจแตกเป็นหนามเดี่ยว หนามคู่ หรือหนามกลุ่มตั้งแต่สามหนามขึ้นไป กลุ่มของหนามอาจจะเรียงกันเป็นระเบียบตามแนวลำต้นเป็นเส้นตรงหรือบิดเป็น เกลียวรอบต้นก็ได้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
    ใบ  ส่วนใหญ่พื้นใบเป็นสีเขียวถึงเขียวอมเทา บางทีใต้ใบอาจมีสีแดงถึงแดงเข้มขึ้นอยู่กับสายพันธุ์  รูปใบมีหลายแบบ ได้แก่ รูปไข่ปลายใบมน ใบรีรูปหยดน้ำหรือรูปใบพาย ฯลฯ บางสายพันธุ์ใบอาจบิดเป็นเกลียว เป็นคลื่นหรือโค้งงอเล็กน้อย
    ดอก  โป๊ยเซียนเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบดอกสองกลีบ มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ตรงกลางกลีบดอก โป๊ยเซียนออกดอกเป็นช่อ  แต่ละช่อประกอบด้วยดอกเป็นคู่ ตั้งแต่ สองดอก สี่ดอก แปดดอก สิบหกดอก สามสิบสองดอก หรือมากกว่านั้น สีของดอกมีหลายสี เช่น แดง ขาว ครีม เหลือง ส้ม เขียว นอกจากนี้ยังมีหลายสีและลายในดอกเดียวกันแตกต่างกันไปขึ้นกับสายพันธุ์ รูปทรงของดอกมีทั้งทรงกลม ยาว รี เหลี่ยม กลีบดอกตั้งขึ้นคล้ายกรวยหรือผายลงคล้ายร่ม ขนาดของดอกบางสายพันธุ์มีขนาดเล็กกว่า 1 ซม. แต่บางสายพันธุ์มีขนาดใหญ่กว่า 5 ซม. โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่พัฒนาโดยคนไทยบางสายพันธุ์มีขนาดใหญ่กว่า 6 ซม.
    ฝัก/ผล  ดอกโป๊ยเซียนหลังจากที่มีการผสมเกสรติดแล้ว จะพบว่าที่บริเวณกลางดอกจะมีกระเปาะนูนขึ้นมาเป็นผลสีขาว มีลักษณะเป็นพูเล็กๆ 3 พู แต่ละพูจะมีเมล็ดอยู่หนึ่งเมล็ด เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลคล้ายเมล็ดพริกไทยและจะแตกออกพร้อมกับดีดเมล็ดกระเด็นออกไป
ฤดูกาลออกดอก:  ตลอดปี
การปลูก:  ปลูกเป็นไม้ประดับหรือปลูกเป็นแนวรั้ว
การดูแลรักษา:  ทนต่อความแห้งแล้ง ไม่ชอบน้ำ   ดินไม่ควรชื้นและระบายน้ำได้ดี   ชอบแสงสว่างรดน้ำเพียงเล็กน้อยเพื่อมิให้แห้ง ถ้าให้ปุ๋ยเดือนละครั้ง  จะให้ดอกสม่ำเสมอ
การขยายพันธุ์:  การปักชำ การเสียบยอด การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การปักชำและการเสียบยอด
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ

ถิ่นกำเนิด:  พบในหลายประเทศแถบเขตร้อน

แหล่งที่มา:http://www.nanagarden.com/ลักษณะพฤกษศาสตร์ของโป๊ยเซียน-10182-13.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น