วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ต้นโป๊ยเซียน


ต้นโป๊ยเซียน



ชื่อวิทยาศาสตร์:  Euphorbia millii Desmoul.
ชื่อวงศ์:  EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ:  Crow of Thorns
ชื่อพื้นเมือง:  ระวิงระไว พระเจ้ารอบโลก ว่านเข็มพญาอินทร์ (เชียงใหม่) ไม้รับแขก (ภาคกลาง) ว่านมุงเมือง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  มีลักษณะเป็นไม้อวบน้ำมีหนามแหลมรอบลำต้น อาจมีรูปร่างกลมหรือเหลี่ยมบิดเป็นเกลียวแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ เมื่อโป๊ยเซียนมีอายุมากขึ้นเนี้อไม้จะแข็งแต่ไม่มีแก่นเหมือนไม้ยืนต้นทั่วไป สีของลำต้นมีสีเทาอมน้ำตาลถึงเทาอมดำ
    หนาม  เกิดรอบลำต้น มีลักษณะฐานใหญ่ปลายเรียวแหลม อาจงอขึ้นหรือชี้ลงไม่แน่นอน การแตกของหนามอาจแตกเป็นหนามเดี่ยว หนามคู่ หรือหนามกลุ่มตั้งแต่สามหนามขึ้นไป กลุ่มของหนามอาจจะเรียงกันเป็นระเบียบตามแนวลำต้นเป็นเส้นตรงหรือบิดเป็น เกลียวรอบต้นก็ได้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
    ใบ  ส่วนใหญ่พื้นใบเป็นสีเขียวถึงเขียวอมเทา บางทีใต้ใบอาจมีสีแดงถึงแดงเข้มขึ้นอยู่กับสายพันธุ์  รูปใบมีหลายแบบ ได้แก่ รูปไข่ปลายใบมน ใบรีรูปหยดน้ำหรือรูปใบพาย ฯลฯ บางสายพันธุ์ใบอาจบิดเป็นเกลียว เป็นคลื่นหรือโค้งงอเล็กน้อย
    ดอก  โป๊ยเซียนเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีกลีบดอกสองกลีบ มีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ตรงกลางกลีบดอก โป๊ยเซียนออกดอกเป็นช่อ  แต่ละช่อประกอบด้วยดอกเป็นคู่ ตั้งแต่ สองดอก สี่ดอก แปดดอก สิบหกดอก สามสิบสองดอก หรือมากกว่านั้น สีของดอกมีหลายสี เช่น แดง ขาว ครีม เหลือง ส้ม เขียว นอกจากนี้ยังมีหลายสีและลายในดอกเดียวกันแตกต่างกันไปขึ้นกับสายพันธุ์ รูปทรงของดอกมีทั้งทรงกลม ยาว รี เหลี่ยม กลีบดอกตั้งขึ้นคล้ายกรวยหรือผายลงคล้ายร่ม ขนาดของดอกบางสายพันธุ์มีขนาดเล็กกว่า 1 ซม. แต่บางสายพันธุ์มีขนาดใหญ่กว่า 5 ซม. โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่พัฒนาโดยคนไทยบางสายพันธุ์มีขนาดใหญ่กว่า 6 ซม.
    ฝัก/ผล  ดอกโป๊ยเซียนหลังจากที่มีการผสมเกสรติดแล้ว จะพบว่าที่บริเวณกลางดอกจะมีกระเปาะนูนขึ้นมาเป็นผลสีขาว มีลักษณะเป็นพูเล็กๆ 3 พู แต่ละพูจะมีเมล็ดอยู่หนึ่งเมล็ด เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลคล้ายเมล็ดพริกไทยและจะแตกออกพร้อมกับดีดเมล็ดกระเด็นออกไป
ฤดูกาลออกดอก:  ตลอดปี
การปลูก:  ปลูกเป็นไม้ประดับหรือปลูกเป็นแนวรั้ว
การดูแลรักษา:  ทนต่อความแห้งแล้ง ไม่ชอบน้ำ   ดินไม่ควรชื้นและระบายน้ำได้ดี   ชอบแสงสว่างรดน้ำเพียงเล็กน้อยเพื่อมิให้แห้ง ถ้าให้ปุ๋ยเดือนละครั้ง  จะให้ดอกสม่ำเสมอ
การขยายพันธุ์:  การปักชำ การเสียบยอด การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การปักชำและการเสียบยอด
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ

ถิ่นกำเนิด:  พบในหลายประเทศแถบเขตร้อน

แหล่งที่มา:http://www.nanagarden.com/ลักษณะพฤกษศาสตร์ของโป๊ยเซียน-10182-13.html

วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ดอกสายหยุด


ดอกสายหยุด


ชื่อวิทยาศาสตร์:  Desmos chinensis Lour.
ชื่อวงศ์:  Annonaceae
ชื่อสามัญ:  Desmos
ชื่อพื้นเมือง:  กล้วยเครือ เครือเขาแกลบ  สาวหยุด เสลาเพชร
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้พุ่มกึ่งเลื้อย  อายุหลายปี เลื้อยได้ไกล 5-10 เมตร กิ่งอ่อนสีน้ำตาล  มีขน  กิ่งแก่สีดำ เป็นมัน ไม่มีขน
    ใบ  ใบเดี่ยว  เรียงสลับในระนาบเดียว  รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก   กว้าง 3-6 เซนติเมตร   ยาว 10-15 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลมเป็นติ่ง โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ขอบใบบิดเป็นคลื่น ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน
    ดอก  สีเหลือง ออกดอกเดี่ยวตามซอกใบ ก้านดอกยาว กลีบเลี้ยงสีเขียว 3 กลีบ ดอกรูปถ้วยคว่ำ  กลีบดอก 6 กลีบ ไม่เชื่อมติดกัน  รูปเรียวยาว  ขอบกลีบมักห่อม้วนพับออกด้านนอก  และบิดเล็กน้อย เรียงสลับกัน 2 ชั้น กลีบชั้นนอกขนาดใหญ่กว่ากลีบชั้นใน ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-6 เซนติเมตร
    ฝัก/ผล  ผลสดเเบบมีเนื้อ มีผลย่อย 8-12 ผล  รูปทรงกระบอก  ผลคอดรัดเมล็ดเป็นช่วงๆ ผลละ 3-6 เมล็ด
ฤดูกาลออกดอก:  ตลอดปี
การปลูก:  ปลูกเป็นซุ้มใกล้บ้าน
การขยายพันธุ์:  กิ่งตอน หรือเพาะจากเมล็ด
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  จีนตอนใต้

แหล่งที่มา:http://www.nanagarden.com/ลักษณะพฤกษศาสตร์ของสายหยุด-10233-13.html


ดอกหน้าวัว





ดอกหน้าวัว


ชื่อวิทยาศาสตร์:  Anthurium spp.
ชื่อวงศ์:  Araceae
ชื่อสามัญ:  anthurium
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ลำต้นตั้งตรง ความยาวของปล้องจะแตกต่างกันใปขี้นอยู่กับชนิดหรือพันธุ์ เมี่อยอดเจริญสูงขึ้นอาจพบรากบริเวณลำต้นและรากเหล่านี้จะเจริญยืดยาวลงสู่ เครื่องปลูกได้ก็ต่อเมื่อโรงเรือนมีความชื้นสูงพอ ลำต้นอาจเจริญเป็นยอดเดี่ยวหรือ แตกเป็นกอก็ได้
    ใบ  มีรูปร่างต่าง ๆ กัน เช่น รูปหัวใจ ดังเช่นที่พบในหน้าวัว หรือ รูปพายคล้ายใบของเขียวหมื่นปี และรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดดังที่พบใน เปลวเทียน แต่ไม่ว่าจะมีรูปร่างอย่างไรจะสังเกตเห็นว่าปลายใบแหลม ในพวกที่มี ใบกว้างเส้นใบจะเรียงตัวคล้ายร่างแห ขณะที่พวกซึ่งมีใบแคบเส้นใบจะเรียงตัว คล้ายเส้นขนาน แต่ทั้งนี้เส้นใบมักจะนูนขึ้นอย่างชัดเจน
    ดอก  เป็นดอกสมบูรณ์เพศคือ ดอกแต่ละดอกจะมี ทั้งเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย ดอกมีลักษณะเป็นดอกช่อโดยดอกรูปสี่เหลี่ยมข้าว หลามตัดจะเรียงอัดกันแน่นอยู่บนส่วนที่เรียกว่าปลี ดอกมีกลีบดอก 4 กลีบ สีของกลีบดอกมักจะเปลี่ยนไปเมื่อดอกบาน เช่น ในปลีของดอกหน้าวัว ส่วนใหญ่ จะพบว่า เมื่อดอกบาน สีของกลีบดอกจะเปลี่ยนจากสีเหลืองไปเป็นสีขาว ส่าหรับ จานรองดอกซึ่งมีสีสันที่สวยงามนั้น แท้ที่จริงแล้วก็คือใบประดับที่ติดอยู่กับโคน ช่อดอกหรือปลี จานรองดอกอาจมีสีขาว ส้ม ชมพูอมส้ม ชมพู แดง ม่วง และ สีเขียว หรือบางครั้งอาจพบจานรองดอกที่มีสีเขียวและ สีอื่นปนกันก็ได้
การปลูก:  ปลูกในกระถาง และปลูกลงแปลง
การขยายพันธุ์:  การตัดยอด การแยกหน่อ การตัดต้นชำ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
การใช้ประโยชน์:  
    -    ไม้ประดับ
    -    ไม้ตัดดอก

แหล่งที่มา:http://www.nanagarden.com/ลักษณะพฤกษศาสตร์ของหน้าวัว-10348-13.html

ดอกพุดซ้อน


ดอกพุดซ้อน

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Gardenia angusta (L.) Merr.
ชื่อวงศ์:  Rubiaceae
ชื่อสามัญ:  Cape jasmine, Gardenia jasmine
ชื่อพื้นเมือง:  พุดจีน พุดใหญ่ อินถะหวา เค็ดถวา แคถวา ซัวอึ้งกี่ จุยเจียฮวย
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  พุดซ้อนเป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1-2เมตร แตกกิ่งแขนงมาก ลำต้นเรียวเป็นรูปกรวย ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มกลม  ค่อนข้างหนาทึบ เปลือกสีน้ำตาลดำ
    ใบ  ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปหอก ปลายใบและโคนใบแหลม ใบมีสีเขียวมน
    ดอก  เป็นดอกเดี่ยวสีขาวออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยงหนาเป็นสัน มีทั้งชนิดดอกลา คือกลีบดอกชั้นเดียว และชนิดดอกซ้อน มีกลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกัน เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-8 ซม.
    ฝัก/ผล  มีทั้งผลสั้นและยาว  รูปไข่ถึงรูปแกมรูปขอบขนาน เมื่อแก่สีเหลือง ส้ม เมล็ดจำนวนมาก ผลแก่จัดจะแตกเป็น 2 ซีก
    เมล็ด  จำนวนเมล็ดประมาณ 3-6 เมล็ด
ฤดูกาลออกดอก:  ออกดอกตลอดปี
การปลูก:  ปลูกเป็นต้นเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มเพื่อบังสายตา
การดูแลรักษา:  เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการแสงแดดจัด ชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก กลิ่นหอมแรง
การใช้ประโยชน์:
    -    นิยมนำไปร้อยพวงมาลัยบูชาพระ
    -     เมล็ดสีเหลืองทอง ใช้แต่งสีอาหารและทำสีย้อม 
    -    ส่วนดอกใช้สกัดน้ำมันหอมระเหย ใช้ทำน้ำหอมและแต่งกลิ่นเครื่องสำอาง
    -    สมุนไพร
ถิ่นกำเนิด:  ประเทศไทย จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น
แหล่งที่พบ:  มีอยู่มากทางภาคเหนือ
สรรพคุณทางยา:
    -    ใบ ตำพอกแก้ปวดศีรษะ  แก้เคล็ดขัดยอก
    -     ดอก คั้นน้ำทาแก้โรคผิวหนัง
    -    ราก  แก้ไข้ 
    -    เปลือกต้น  แก้บิด

แหล่งที่มา:http://www.nanagarden.com/ลักษณะพฤกษศาสตร์ของพุดซ้อน-10193-13.html


ดอกบานเย็น


ดอกบานเย็น

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Mirabilis jalapa  L. 

ชื่อสามัญ :   Marvel of peru , Four-o’clocks

วงศ์ :   Nyctaginaceae

ชื่ออื่น :  จันยาม  จำยาม  ตามยาม  ตีต้าเช่า (จีน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
บานเย็น เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี วงศ์เดียวกับเฟื่องฟ้า เจริญเติบโต เป็นพุ่ม สูงได้ถึง 1 เมตร กิ่งเปราะใบเป็นรูปหัวใจ ปลาย แหลม มีเง้า สูง 1-1.5 ม. ลำต้นมีสีแดง มีนวลเล็กน้อย ใบรูปไข่ หรือรูปสามเหลี่ยม มีขนประปราย กว้าง 2-9 ซม. ยาว 5-15 ซม. ปลายใบแหลม โคนตัดหรือรูปหัวใจ ก้านใบยาว 1-4 ซม. กลีบประดับรูประฆัง ติดที่ฐาน ยาว 1-1.5 ซม. ดอกเกือบไร้ก้าน มี 4-5 ดอกในแต่ละช่อ บานตอนบ่ายๆ จนถึงตอนเช้า วงกลีบสีชมพู ม่วง ขาว เหลือง หรือด่าง ยาวประมาณ 3-6 ซม. ปากกลีบมีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 2.5-3 ซม. เกศรเพศผู้ 5 อัน ยื่นออกยาวประมาณ 1 ซม. ก้านเกสรสีแดง อับเรณูทรงกลม รังไข่รูปรี ก้านเกศรเพศเมียยาวเท่าๆ เกสรเพศผู้ สีแดง ปลายเกสรเป็นตุ่ม เป็นพูตื้นๆ ผลรูปกลมรี สีดำ ขนาดประมาณ ยาว 0.5-0.9 ซม. เปลือกบาง มี 5 สัน เมล็ดกลม ขนาดประมาณ 0.7 ซม. บานเย็นมีถิ่นกำเนิดในประเทศเปรู มีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปอเมริกาใต้ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป โดยเฉพาะดอกสีชมพู ขนาดดอกประมาณ 1 นิ้ว มีหลายสี สีเดิมคือสีชมพูอมม่วงสดใส ทำให้คนนิยมเรียกสิ่งที่มีสีชมพูอมม่วงแบบนี้ว่าสี ดอกบานเย็น หรือสีบานเย็น บางครั้งขึ้นเป็นวัชพืช
ส่วนที่ใช้ :  ราก ใบ หัว

สรรพคุณของบานเย็น

ราก -  มี alkaloid trigonelline  ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย
ใบ -  ตำทาแก้คัน และ พอกฝี
หัว -  รับประทานจะทำให้หนังชาอยู่คงกะพันเฆี่ยนตีไม่แตกกลับทำให้รู้สึกคัน
    -   รับประทานเป็นยาขับเหงื่อ แก้ไข้ ระงับความร้อน  


แหล่งที่มา:http://panmainaiban.blogspot.com/2011/06/blog-post_23.html

ดอกกุหลาบ


ดอกกุหลาบ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Rosa spp.
ชื่อวงศ์: Rosaceae
ชื่อสามัญ: Rose
ลักษณะทั่วไป:
     ต้น ไม้พุ่มขนาดเล็ก แต่บางชนิดมีขนาดใหญ่หรือเป็นไม้เลื้อย เป็นไม้ผลัดใบ ลำต้นและกิ่งมีหนาม เปลือกสีเขียว
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 5-9 ใบ ออกลับกัน ใบรูปไข่ กว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 5-10 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมันและมีรอยย่นเล็กน้อย
     ดอก เป็นดอกเดี่ยว หรือดอกช่อ กลีบดอกแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ กลีบดอกชั้นเดียว จะมี 5 กลีบ ยกเว้นบางชนิดที่มีเพียง 4 กลีบ คือ Rosa sericea และ Rosa omeiensis ส่วนกลีบดอกกึ่งซ้อนมี 6-20 กลีบ กลีบดอกซ้อนมีตั้งแต่ 20 กลีบไปจนถึง 50-60 กลีบ กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ สีเขียวหรือสีเขียวอมแดงเรื่อ เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก อับเรณูสีเหลืองล้อมรอบเกสรเพศเมียซึ่งรวมเป็นกระจุกอยู่กลางดอก และจะอยู่ในระดับต่ำกว่าเกสรเพศผู้
     ฝัก/ผล เป็นผลกลุ่ม ผลแก่แห้ง เมื่อเริ่มติดผลส่วนที่เป็นรังไข่จะขยายพองโตขึ้นโดยมีฐานรองดอกหุ้มไว้ ภายในประกอบด้วยผลย่อยจำนวนสองถึงหลายสิบผล ผลมีรูปร่างต่างๆ กัน ตามชนิด เช่น กลม กลมแป้น ยาวรี มีเนื้อนุ่ม และมีหลายสี เช่น สีส้ม สีแดง สีเหลือง หรือสีน้ำตาล
     เมล็ด เมล็ดล่อน (achene) ค่อนข้างกลม รูปไข่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 มม. เมล็ดอ่อนสีขาวอมเขียว ที่ปลายมีสีแดง เมล็ดแก่สีน้ำตาล จำนวน 2-18 เมล็ด
ฤดูกาลออกดอก: ตลอดปี โดยเฉพาะ ธ.ค.-มี.ค.
การปลูก: ปลูงลงกระถางหรือลงแปลงประดับสวน
การดูแลรักษา: ชอบดินที่เป็นกรดเล็กน้อย อากาศเย็น
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง ติดกิ่ง ติดตา หน่อ
ส่วนที่มีกลิ่นหอม: ดอก
การใช้ประโยชน์: 
     - ตัดดอกประดับแจกัน
     - กลีบดอกแรกแย้มสกัดได้น้ำมันหอมระเหยใช้แต่งกลิ่น โดยเฉพาะ เครื่องสำอาง
     - ร้อยมาลัย และบุหงา
ถิ่นกำเนิด: กุหลาบอยู่ในสกุล Rosa มีอยู่ประมาณ 125 ชนิด มีถิ่นกำเนิดในเอเซียประมาณ 95 ชนิด ในอเมริกา 18 ชนิด ส่วนที่เหลือมีถิ่นกำเนิดในยุโรปหรือตะวันตกเฉียงเหนือของแอฟริกา
สรรพคุณทางยา:
     - ดอก มีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ขับน้ำดี
     - ผล มีวิตามินซีมาก

แหล่งที่มา:http://www.nanagarden.com/ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกุหลาบ-10096-13.html

ดอกมะลิ

ดอกมะลิ



ลักษณะทั่วไป
มะลิเป็นพรรณไม้ยืนต้น และเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลางบางชนิดก็มีลำต้นแบบเถาเลื้อย ลำต้นมีความสูงประมาณ1-3 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวมีสะเก็ดรอยแตกเล็กน้อย ลำต้นเล็กกลมแตกกิ่งก้านสาขาไปรอบ ๆ ลำต้น ใบเป็นใบเดียวแตกใบเรียงกันเป็นคู่ ๆ ามก้านและกิ่งลักษณะของใบมนป้อม โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ขนาดใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ ออกตามส่วนยอดหรือตามง่ามใบดอกเล็กสีขาวมีกลีบดอกประมาณ 6-8 กลีบ เรียงกันเป็นวงกลมหรือซ้อนกันเป็นชั้นแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ขนาดดอกบานเต็มที่ประมาณ 2-3 เซนติเมตรผลเป็นรูปกลมรีเล็กเมื่อสุกจะมีสีดำภายในมีเมล็ดอยู่1เมล็ดนอกจากนี้ลักษณะของลำต้นและดอกแตกต่างกันไปตามชนิดพันธ์
  พันธ์ดอกมะลิ
 มะลิลา เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดียวออกเป็นคู่ตรงกันข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกสีขาว มะลิชนิดนี้ จะใช้ในการเด็ดดอกขาย
 มะลิลาซ้อน เป็นไม้พุ่มเลื้อย สูง 1-2 เมตร แตกกิ่งตำใต้ผิวดินจำนวนมาก เป็นพุ่มแน่น ปลายกิ่งตั้งขึ้น กิ่งเปราะ ใบเป็นใบเดี่ยว มักมี 3 ใบต่อหนึ่งข้อ เรียงตรงข้ามร ใบรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม สีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ 1-3 ดอก สีขาว ออกที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบจำนวนมาก ขอบกลีบเป็นคลื่น เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 3- 4 เซนติเมตร ดอกบานอยู่ได้หลายวัน มีกลิ่นหอมตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ออกดอกตลอดปี
 มะลิถอด ลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ทั้งต้น ใบ การจัดเรียงของใบ รูปแบบของใบคล้ายมะลิลาซ้อน แต่ใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อมี 3 ดอก ดอกซ้อนมากชั้นกว่า คือ 3-6 ชั้น ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ขนาดดอก 2.5-3.5 ซม.
 มะลิซ้อน เป็นไม้พุ่มเลื้อย สูง 1-2 เมตร แตกกิ่งตำใต้ผิวดินจำนวนมาก เป็นพุ่มแน่น ปลายกิ่งตั้งขึ้น กิ่งเปราะ ใบเป็นใบเดี่ยว มักมี 3 ใบต่อหนึ่งข้อ เรียงตรงข้ามร ใบรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม สีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ 1-3 ดอก สีขาว ออกที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบจำนวนมาก ขอบกลีบเป็นคลื่น เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 3- 4 เซนติเมตร ดอกบานอยู่ได้หลายวัน มีกลิ่นหอมตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ออกดอกตลอดปี
 มะลิพิกุล หรือมะลิฉัตร ลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับ 4 ชนิดแรก ใบคล้ายมะลิซ้อนและมีคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อ 3 ดอกดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ เห็นได้ชัด (คล้ายฉัตร) และดอกมีขนาดเล็กพอ ๆ กับดอกพิกุล ขนาดดอก 1-1.4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอม
 มะลิทะเล เป็นไม้รอเลื้อย ดอกเป็นกระจุก ๆ หนึ่ง มี 5-6 ดอก กลิ่นหอมฉุน
 มะลุลี มะลุลีเป็นพันธุ์ไม้สกุลเดียวกับมะลิอีกชนิดหนึ่งที่มีดอกหอม มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น มะลิพวง มะลิเลื้อย มะลิซ่อม เป็นไม้รอเลื้อยกระจายพันธุ์อยู่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขนเห็นเด่นชัดเช่นกัน ใบและรูปแบบตลอดจนการจัดเรียง คล้ายมะลิอื่น ๆ แต่ใบมีขนเห็นเด่นชัด เป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายใบแหลม ใบดกมาก จะออกดอกมากเป็นพิเศษประมาณ เดือนกุมภาพันธ์ จึงปลูกคลุมซุ้มไม้ได้ดี ดอกเป็นช่อ แน่นตามปลายกิ่งและซอกใบ มีสีขาว แต่ละช่อมีมากกว่า 10 ดอกขึ้นไป จึงเห็นเป็นช่อใหญ่สวยงาม มีขนนุ่มๆ โดยเฉพาะที่กลีบเลี้ยงซึ่งเป็นแฉกแหลมๆ ลักษณะของดอกคล้ายมะลิลา แต่กลีบแคบยาวและปลายแหลมกว่า ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2.5-3 ซม. ใช้ทั้งช่อเป็นดอกไม้บูชาพระ กลิ่นหอมตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน คล้ายกลิ่นมะลิวัลย์
 มะลิเลื้อย ลำต้นเลื้อยไปตามพื้นดินยาวประมาณ 1 ฟุต ใบเล็กกว่าพันธุ์อื่นมาก
 มะลิวัลย์หรือมะลิป่า เป็นไม้เลื้อย ลำเถาเล็กเกลี้ยง ใบเดี่ยว รูปรี ปลายแหลม ออกเป็นคู่ตรงกันข้าม ดอกเป็นช่อเล็กเพียง 1-2 ดอก ตรงซอกใบ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2-3 ซม. กลีบแคบและเรียวแหลม ดอกมีกลิ่นหอมแต่ร่วงเร็ว ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง หรือปักชำกิ่ง ปลูกตามซุ้ม หรือพันรั้วก็ได้ มะลิวัลย์ชนิดนี้มีลำเถายาวและเลื้อยพันได้เป็นระยะทางไกลๆ แต่ดอกไม่ดก จึงไม่เป็นที่สะดุดตาเหมือนมะลิป่าชนิดอื่นๆ
 พุทธิชาติ เป็นไม้รอเลื้อย ใบเป็นใบเดี่ยวแต่ใบด้านล่างลดขนาดลงมากจนมีลักษณะคล้ายหูใบ ดอกเป็นช่อ ออกที่ปลายกิ่งและข้างกิ่ง ดอกสีขาว ปลายกลีบมน ก้านดอกยาว
 ปันหยี ต้นเป็นไม้เลื้อยเช่นเดียวกับมะลิวัลย์ ใบเดี่ยว การออกของใบเช่นเดียวกันแต่ใบมีขนาดใหญ่กว่า ใบเป็นมันสีเขียวเข้มหนาและแข็ง ดอกเป็นดอกช่อ สีขาวกลีบดอกใหย่กว่ามะลิวัลย์ กลีบดอกกว้างและมน ดอกชั้นเดียว ขนาดดอก 4-4.5 ซม. กลิ่นไม่หอม
 เครือไส้ไก่ ไม้เถา ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือกลม ดอกช่อแบบช่อแยกแขนง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอก โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็น 5  แฉก สีขาว มีกลิ่นหอม ผลสด รูปทรงกลมหรือรี ผลสุกสีดำ
 อ้อยแสนสวย เป็นไม้เลื้อย กิ่งอ่อนสีม่วงแดง ไม่มีขน กิ่งแก่สีน้ำตาล ใบเดี่ยว ขนาดใหญ่ก้านใบสีม่วง ดอกออกเป็นช่อมี 8 ดอก ดอกกลางบานก่อน ก้านดอกยาว กลีบดอกขาว ชั้นเดียวปลายกลีบมน
 มะลิเขี้ยวงูเป็นไม้เลื้อย แตกกิ่งก้านมาก ไม่มีขน ใบออกเป็นช่อคล้ายใบแก้ว แต่บางกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอก ก้านดอกเป็นหลอดสีแดงอมม่วง กลีบดอกขาว กลิ่นหอมจัด
ประโยชน์
มะลินอกจากจะเก็บดอกมาร้อยเป็นพวงมาลัย ทำเป็นดอกไม้แห้ง หรือนำมาสกัดทำน้ำมันหอมระเหยแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง และในดอกมะลิมีส่วนที่เป็นน้ำมันอยู่ 0.2-0.3% ดอกมีรสเผ็ด หวาน ฤทธิ์อุ่น ส่วนรากมีรสขม ฤทธิ์อุ่น มีพิษ
ดอก   มีสรรพคุณแก้อาการท้องร่วง ตาแดง
ราก    เป็นยาแก้ปวด ทำให้ชา ฟันผุ ฟกช้ำ นอนไม่หลับ
สรรพคุณ
เยื่อตาขาวอักเสบ หรือตาแดง   : ดอกมะลิสดล้างให้สะอาด ต้มจนเดือด สักครู่ นำน้ำที่ได้ใช้ล้างตา
ปวดกระดูก ปวดกล้ามเอ็น       : รากมะลิสดทุบให้แหลกคั่วกับเหล้าจนร้อน ใช้พอกบริเวณที่ปวด
ปวดฟันผุ : รากมะลิตากแห้งบดเป็นผง ผสมกับไข่แดงที่ต้มสุกแล้วจนได้ยาเหนียวข้น ใส่ในรูฟันผุ
ข้อควรระวังอย่างหนึ่งคือ รากมะลิมีพิษ ไม่ควรใช้รับประทานหรืออาจใช้แต่น้อย เช่น ใช้รากมะลิสดไม่เกิน 1.5 กรัม ฝนกับน้ำใช้ดื่มแก้อาการนอนไม่หลับ
มะลิซ้อน    ดอกสด          ใช้รักษาโรคตาเจ็บ แก้ไข้ตัวร้อน แก้หวัด
                   ดอกแห้ง         ใช้ปรุงเป็นสารแต่งกลิ่น
                   ใบสด             นำมาตำให้ละเอียดจะช่วยรักษาแผล                                                   พุพองและแผลฝีดาษ

แหล่งที่มา:http://www.thaigoodview.com/node/109603